วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะภาษาไทย

1. คำไทยแท้มักมีคำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ นั่ง เดิน สวย งาม ใน เสือ คลอง ฯลฯ
2. ตัวสะกดมักเป็นตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด เช่น สิน เกรง นาม ศอก ศึก ลม ขีด ฝน ต้น ศอก เย็น
3. คำคำเดียวอาจมีความหมายหลายอย่างขึ้นอยู่กับบริบท เช่น ไก่ขัน ขันน้ำ คุณพ่อขันเชือก
4. คำไทยไม่มีคำแสดงเพศและพจน์ภายในคำ ถ้าต้องการแสดงเพศและพจน์ก็นำคำมารวมกัน เช่น ช้างตัวผู้ ประชาชนทั้งหลาย ผู้หญิง
5. คำไทยมีลักษณนาม เช่น ช้าง เชือก แหวน วง
6. คำไทยมีคำราชาศัพท์ เช่น เสวย ตรัส พระราชทาน
7. คำไทยเป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ เมื่อเสียวรรณยุกต์เปลี่ยนไปจะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปด้วย
8. คำไทยจะมีคำหลักอยู่ข้างหน้า คำขยายอยู่ข้างหลัง เช่น หมูอ้วน โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม
9. คำไทย จะมีลักษณะทางไวยากรณ์ คือ ประธาน+ขยายประธาน+กริยา+กรรม+ขยายกรรม+ขยายกริยา
10. คำไทยมีวิธีการสร้างคำใหม่โดยการนำคำมาประสมกัน เช่น คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน
11. คำไทยมีลักษณะวิธีการสร้างคำไทยแท้ ลักษณะ คือ
11.1 การกร่อนเสียง คือ เสียงพยางค์ต้นหายไปเหลือเพียงบางส่วนโดยพยางค์ต้นเหลือเป็นสระ อะ เช่น หมากขาม เป็น มะขาม ต้นไคร้ เป็น ตะไคร้ ตัวขาบ เป็น ตะขาบ
11.2 การแทรกเสียง คือ การเติมเสียงเข้ากลางคำแล้วเสียงเกิดคอนกันจึงเติมข้างหน้าอีกเพื่อให้ถ่วงดุลกัน เช่น ลูกดุม เป็น ลูกกระดุม ดุกดิก เป็น กระดุกกระดิก
11.3 การเติมพยางค์ คือ การเติมเสียงเข้าหน้าคำและหลังคำของคำหน้าเพื่อให้เกิดดุลเสียงกัน เช่น มิดเมี้ยน เป็น กระมิดกระเมี้ยน แอมไอ เป็น กระแอมกระไอ
หลักการเขียนคำในภาษาไทย
            การเขียนสะกดคำในภาษาไทยให้ถูกต้อง จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเขียนคำนั้นๆและต้องหมั่นฝึกฝนเขียนอยู่สม่ำเสมอ ทั้งนี้ต้องยึดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเป็นหลักเกณฑ์ในการอ่านและเขียนคำ
        1. คำที่ประวิสรรชนีย์ มีวิธีการดังนี้
            1.1 คำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤตและเป็นคำที่มีหลายพยางค์เรียงกัน พยางค์หลังสุดให้ประวิสรรชนีย์ เช่น สรณะ อมตะ อิสระ ศิลปะ ฯลฯ
            1.2 คำกร่อนเสียง ต้องประวิสรรชนีย์ เช่น สาวใภ้ เป็น สะใภ้ สายดือ เป็น สะดือ
            1.3 คำที่ม่จากภาษาชวาและอ่านออกเสียงสระอะ ต้องประวิสรรชนีย์ เช่น มะเดหวี ระเด่น ระตู อะนะ ตะหมัง สะตะหมัน มะตาหะรี
            1.4 คำที่ขึ้นต้นด้วนสะ แผลงเป็น ตะ และกระ แม้ภาษาเดิมจะไม่ประวิสรรชนีย์เมื่อแผลงมาต้องประวิสรรชนีย์ เช่น สะพัง เป็น ตะพัง สะพาน เป็น ตะพาน สะเทือน เป็น กระเทือน
            1.5 เมื่อแผลงบางคำประวิสรรชนีย์ เพราะมีเสียงตัว ร กล้ำในพยางค์หน้าซึ่งอ่านออกเสียงสระอะ เช่น กลับ เป็น กระลับ ขจาย เป็น กระจาย กลอก เป็น กระลอก ผจญ เป็น ประจญ
            ตัวอย่างคำประวิสรรชนีย์
                ขะมักเขม้น ขะมุกขะมอม คะนึง คะนอง คะเน คะยั้นคะยอ ชะงัก ชะโงก ตัวชะมด ชะลอ ชะล่า ชะลูด ตะลุ ตะขิดตะขวง ทะลาย(หมาก) ทะนง ทะมัดทะแมง ทะลึ่ง ทะเยอทะยาน ทะนุบำรุง ทะลัก พะวง พะวง พะยูง พะเนิน พะแนง พะว้าพะวง พะอืดพะอม รำส่ำระสาย ละคร ละเมียดละไม ละโมบ ละเอียด สะกด สะดุ้ง สะคราญ สะพรั่ง สะเพร่า สะระแหน่ สะโอดสะอง สะดวก สะพาน อะลุ้มอล่วย อะไหล่ เถระ สรณะ วัฒนะ วชิระ อัจฉริยะ ฉันทะ วีระ
        2. คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ มีวิธีการดังนี้
            2.1 มีคำไทยแท้พยางค์เดียว คือ ธ (ท่าน) ณ (ใน)
            2.2 คำที่เป็นอักษรนำ เช่น สมาน ขยาย แถลง ตลาด ฉลาด ถวาย จมูก ตลก ฉลวย
            2.3 คำสมาส เช่น จิตแพทย์ มาฆบูชา อิสรภาพ ลักษณนาม ภารกิจ ยุทธวิธี อาชีวศึกษา ทักษสัมพันธ์ วัฒนธรรม สุขศึกษา
ตัวอย่างคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
ขโมย ขมุกขมัว ขยักขย่อน จริต ฉบับ เฉพาะ ชมดชม้อย ชม้าย ชโลม ชอุ่ม ตลิ่ง ตวัด ทโมน ทยอย ทแยง เนรนาด พังทลาย พนัน พยัก ปรัมปรา ผอบ รโหฐาน อำมหิต อุตพิต อัพาต อินทผลัม อเนก อเนจอนาถ พลัง ชบา นานัปการ ศิลปศึกษา โบราณวัตถุ หัตถกรรม พลศึกษา
        3. การใช้ รร (ร หัน)
            3.1 เป็นคำที่แผลงาจากคำซึ่งมีตัว ร กล้ำกับพยัญชนะอื่น และหลัง ร มีสระอะ เช่น คระไล เป็น ครรไล ประจง เป็น บรรจง กระเชียง เป็น กรรเชียง กระโชก เป็น กรรโชก ประโลม เป็น บรรโลม
            3.2 คำที่มาจาก ร เรผะ(รฺ) ในภาษสันสกฤต ให้เปลี่ยนเป็น รร เช่น ธรฺม เป็น ธรรม ครฺภ เป็น ครรภ หรฺษ เป็น หรรษ สรฺว เป็น สรรพ สวรฺค เป็น สวรรค์
        ตัวอย่างคำที่ใช รร หัน
            ภรรยา มรรค ขรรค์ พรรค สรรพ อุปสรรค สร้างสรรค์ ธรรมดา ผิวพรรณ วรรณะ อรรณพ สรรพนาม มรรยาท ธรรมชาติ ไอศวรรย์ สรรเสริญ กรรไกร กรรโชก กรรชิง จรรโลง บรรทม บรรสาน บรรดา บรรทุก บรรเทา บรรเจิด บรรจบ กรรพุ่ม ครรชิต ครรไล บรรยาย บรรษัท บรรจง พรรดึก พรรษา อาถรรพเวท
        4. การใช้ ณ มีวิธีการดังนี้
            4.1 คำบาลีสันสกฤต ที่มีตัวสะกดใน แม่ กน ถ้าตัวตามเป็นพยัญชนะวรรค ฏ (ฏ ฐ ฑ ฒ ณ) หรือ ห ตัวสะกดต้องใช้ ณ เช่น อุณหภูมิ ตัณหา กุณฑล สัณฐาน กัณหา
            4.2 คำบาลีสันสกฤต เมื่อ ข ฤ ร ษ อยู่หน้าตัว “นอ” ให้ใช้ ณ เสมอ เช่น ขณะ ลักษณะ โฆษณา ประณีต กรุณา โบราณ บูรณะ ตฤณ
            4.3 คำไทยที่ใช้ ณ แต่โบราณ เช่น ณ ฯพณฯ เณร
ตัวอย่าง กรณี เกษียณอายุ ปฏิภาณ ประณต พาณิช(พ่อค้า) อุณาโลม อัประมาณ อาจิณ ทักษิณ ปริณายก พาราณสี อารมณ์ ม้วยมรณ์ วิจารณ์ อุทธรณ์ ปฏิสังขรณ์ อุทาหรณ์ นารายณ์
        5. การใช้ น มีวิธีการดังนี้
            5.1 ใช้ในคำไทยทั่วไป เช่น ใน นอน นิ่ง แน่น หนู ฯลฯ
            5.2 คำบาลีสันสกฤต ที่มีตัวสะกดอยู่ในมาตราแม่ กน มีตัวสะกดตัวตามที่เป็นพยัญชนะวรรค ตะ (ต ถ ท ธ น) เช่น มัทนะ วันทนา ขันที นินทา สันถาร ชนนี ฯลฯ
            5.3 ใช้ในคำบาลีสันสกฤตทั่วไปทีไม่อยู่ในหลักการใช้ ณ เช่น ชน สถาน นารี กริน นคร ฯลฯ
            5.4 ใช้ในคำที่มาจากภาษาอื่น เช่น ญี่ปุ่น ไนโตรเจน ละติน จีน ปิ่นโต นโปเลียน ฯลฯ
            ตัวอย่าง กังวาน กันแสง กำนัน กันดาร ของกำนัล ชุลมุน ชันสูตร ฌาน ตระเวร ตานขโมย ทโมน เนรนาด ประนีประนอม เมตตาปรานี ปฏิสันถาร พรรณนา พุดตาน มลทิน รโหฐาน รัญจวน เวนคืน สินบน สันโดษ สันนิฐาน อเนจอนาถ สงกรานต์ อวสาน อุปโลกน์
        6. การใช้ ซ – ทร มีวิธีการดังนี้
            6.1 การใช้ ซ ออกเสียง ซอ มีดังนี้ คำไทยแท้ออกเสียง ซอ มักใช้ ซ เสมอ เช่น ซบ ซึม ซับ ซ่าน ซาก ซึมซาบ ไซ โซก ซาบซ่า แซม ซอกแซก แซง ,คำที่มาจากภาษาจีน เช่น ซินแส แซยิด แซ่ เซียมซี ไซโคลน
            6.2 การใช้ ทร ออกเสียง ซ มีหลักดังนี้ คำที่มาจากภาษาเขมร เช่น ไทร แทรก ฉะเชิงเทรา เทริด ทรวง ,คำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น ทรัพย์ มัทรี อินทีรย์ นนทรี อินทรี
        7. การใช้ตัวการันต์(ไม้ทัณฑฆาต) มีวิธีการดังนี้
            7.1 คำทีมีพยัญชนะต่อท้ายตัวสะกดถ้าไม้องการออกเสียงให้ใส่ไม้ทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้ายของคำ
            7.2 คำที่มาจากภาษาต่างประเทศให้เขียนตัวการันต์เพื่อออกเสียงตัสะกดได้ถูกต้องและรักษารูปศัพท์เดิม เช่น ชอล์ก ฟิล์ม การ์ตูน บิลล์ ฟาร์ม
ตัวอย่างคำที่มีตัวการันต์
กาญจน์ ต้นโพธิ์ สรรพ์ เลห์ ทุกข์ สงฆ์ องค์ องก์ ขรรค์ หัตถ์ บริสุทธิ์ ประสิทธิ์ อาถรรพณ์ อุโมงค์ ธุดงค์ รามเกียรติ์ คำวิเศษณ์ โจทย์เลข โจทก์จำเลย จุลทรรศน์ เดียดฉันท์ นัยน์ตา ยานัตถุ์ ลูกบาศก์ ปาฏิหาริย์ ผลานิสงส์ พืชพันธุ์ พิสูจน์ สายสิญจน์ มัคคุเทศก์ ศึกษานิเทศก์ รังสฤษฏ์ วงศ์วาน ปาติโมกข์ หงส์ อุปโลกน์ อัศจรรย์ อานิสงส์ พรหมจรรย์ สังหรณ์ อุปัชฌาย์ อัฒจันทร์ อุทาหรณ์ อุทธรณ์ นักปราชญ์ สกนธ์ ผู้เยาว์ เปอร์เซ็นต์ เดลินิวส์ โปสเตอร์ รถเมล์ จุกคอร์ก ฟิวส์ ฟิสิกส์ ฟิวส์ ตอร์ปิโด ซีเมนต์ ไนต์คลับ เชียร์ ซิการ์ สวิตซ์
ตัวอย่างคำที่ไม่มีตัวการันต์
เซ็นชื่อ จำนง สำอาง ดำรง กระแส วิเศษ ไข่มุก จักพรรดิ จักวรรดิ โล่ สิงโต ปล้นสะดม หนังสืออุเทศ ดำริ พะอง นิตยา นัยนา สถิต บ่วงบาศ ผูกพัน มืดมน ปฐมนิเทศ ย่อมเยา อาจิณ เกม เฟิน ฉันมิตร เกียรติ
        8. การเขียนคำที่อกเสียง อำ
            8.1 การใช้สระ อำ มีวิธีการดังนี้
                8.1.1 ใช้ในคำไทยทั่วไป เช่น ทองคำ ลูกประคำ ลำอ้อย รำมะนา ฯลฯ
                8.1.2 ใช้ในคำแผลงที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาเขมร เช่น ตริ เป็น ดำริ ตรวจ เป็น ตำรวจ แข็ง เป็น กำแหง รวิ เป็น รำไพ อมฤต เป็น อำมฤต
                8.1.3 ใช้ในคำภาษาอื่นๆที่นำมาเขียนตามอักขรวิธีไทย เช่น กำปั่น กำมะลอ กำยาน สำปั่น กำมะหยี่ ตำมะหงง
ตัวอย่างคำที่ออกเสียง อำ
อำเภอ ฮุนหนำ กำปง กำปั้น กำแหง อำนาจ กำพืด ดำรง กำยำ ตำนาน จำนำ รำพัน กำบัง อำพน สำมะโนครัว สำเนา คำรน สำราญ นำเรอ ไพ กำมลาสน์ ชำนิ กำหมัด กำเหน็จ บำบัด ชำนาญ จำนง
8.2 การใช้สระ อัม มีวิธีการใช้ดังนี้
    8.2.1 คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตที่ออกเสียง อะ และมี ม สะกด เช่น อัมพร สัมผัส อุปถัมภ์ สัมพันธ์ กัมพล คัมภีร์ สัมภาษณ์ อัมพิกา
    8.2.2 คำที่มาตากภาษาอื่นนอกจากบาลีและสันสกฤต เช่น ปั้ม อัลบั้ม กิโลกรัม สกรัม สเปกตรัม กัมมันตภาพ
ตัวอย่างคำที่ออกเสียง อัม
สัมฤทธิ์ บุษราคัม กัมพูชา อินทผลัม สัมมนา สัมภาษณ์ สัมประสิทธิ์ ปกรณัม สัมปรายภพ สัมพัทธ์ สัมปทาน สัมปชัญญะ สัมมาชีพ นัมเบอร์ คอลัมน์ บุษราคัม กัมปนาท อัมพา อัมพาต สัมพันธ์ สัมภเวสี สัมภาระ
8.3 การใชสระ อำม ใช้กับคำในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มาจากคำ “อม” เช่น อำมาตย์ มาจาก อมาตย์ อำมรินทร์ จาก อมรินทร์ อำมร มาจาก อมร อำมฤต มาจาก อมฤต
8.4 การใช้สระ _รรม ใช้กับคำที่มาจาก รฺ (ร เรผะ) ในภาษาสันสกฤตและ ตาม เช่น ธรรม มาจาก ธรฺม กรรม มาจาก กรฺม

        9. การเขียนคำพ้องเสียง
การเขียนคำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่การเขียนต่างกันและควาหมายต่างกันแยกได้ 3 ชนิด คือ
            9.1 คำที่ใช้รูปวรรณยุกต์ต่างกันโดยการใช้อักษรที่มีเสียงคู่กัน คือ อักษรสูงกับอักษรต่ำ เช่น ค่า กับ ข้า เท่า กับ เถ้า ย่า กับ หญ้า
            9.2 คำที่ใช้ ใ ไ อัย ไนย เช่น ใน ใจ ไจไหม หมาใน ความหมาย ภูวไนย
            9.3 คำทีเขียนต่างกัน เช่น เลือกสรร สังสรรค์ พร้อมสรรพ สุขสันต์
                 ตัวอย่างคำพ้องเสียง เกร็ดความรู้ กาลเวลา เกรียงไกร เกล็ดปลา การงาน ห่างไกล ไตรมาส กาพย์กานท์ จัณฑาล เมรุมาศ ดวงจันทร์ ตัวอย่างแบบทดสอบ
หลักการอ่านคำในภาษาไทย
            การอ่านออกเสียงคำให้ถูกต้อง ทำให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจความหมายขอคำและสามารถสื่อสารได้ข้าซึ่งกันและกัน การศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการอ่านคำตามอักขรวิธีอย่างถ่องแท้ จะช่วยให้การสื่อสารบรรลุประสิทธิผลตาเจตนาของผู้ส่งสาร
        1. การอ่านคำสมาส มีวิธีการอ่าน ดังนี้
            1.1 คำหน้าพยัญชนะเขียนเรียงพยางค์ให้อ่านเรียงพยางค์ต่อกับคำหลัง เช่น พลศึกษา อ่าน พะ-ละ-สึก-สา ,อารยธรรม อ่าน อา-ระ-ยะ-ทำ ศากยวงศ์ อ่าน สา-กะ-ยะ-วง
            1.2 พยัญชนะสุดท้ายของคำหน้าเป็นตัวสะกด ให้อ่านออกเสียง 2 ครั้ง คือ อ่านเป็นตัวสะกดและอ่านซ้ำตามสระที่ปรากฏ เช่น รัชกาล อ่าน รัด-ชะ-กาน,กิจกรรม อ่าน กิด-จะ-กำ ศักราช อ่าน สัก-กะ-หราด
            1.3 คำหน้ามีตัวสะกดและตัวตามอ่านออกเสียงตัวสะกดซ้ำและตัวตามอ่านออกเสียง อะ กึ่งเสียง เช่น สัตวแพทย์ อ่าน สัด-ตะ-วะ-แพด,อิสรภาพ อ่าน อิด-สะ-หระ-พาบ,ทิพยอาสน์ อ่าน ทิบ-พะ-ยะ-อาด
            1.4 พยัญชนะตัวสะกดของคำหน้าเป็นอักษรควบแท้ อ่านออกเสียงควบกล้ำ เช่น มาตราน อ่าน มาด-ตระ-ถาน,จักรวาล อ่าน จัก-กระ-วาน
            1.5 คำสมาสบางคำที่ไม่ออกเสียงแบบสมาส เช่น ชลบุรี อ่าน ชน-บุ-รี ,เพชรบุรี อ่าน เพ็ด-บุ-รี
ข้อสังเกต คำไทยบางคำไม่ใช่คำสมาส แต่นิยมอ่านออกเสียงแบบสมาส เช่น ผลไม้ อ่าน ผน-ละ-ไม้ ราชวัง อ่าน ราด-ชะ-วัง เทพเจ้า อ่าน เทบ-พะ-เจ้า พลความ อ่าน พน-ละ-ความ พลเมือง อ่าน พน-ละ-เมือง
        2. การอ่านคำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต มีวิธีการอ่านดังนี้
            2.1 พยัญชนะวรรคที่เป็นตัวสะกดตัวตาม ไม่ต้องอ่านเสียงตัวสะกดนั้น เช่น มัจฉา อ่าน มัด-ฉา ,วิตถาร อ่าน วิด-ถาน , อาชญา อ่าน ปรัด-ยา,สัปตสก อ่าน สั-ตะ-สก
            2.2 คำที่ในภาษาเดิมออกเสียง อะ เรียงพยางค์ อ่านเป็น อะ เช่น กรณี อ่าน กะ-ระ-นี กรกฎาคม อ่าน กะ-ระ-กะ-ดา-คม ธนบัตร อ่าน ทะ-นะ-บัด สมณะ อ่าน สะ-มะ-นะ
            2.3 คำที่อ่านออกเสียง ออ ตามหลักภาษาไทย เช่น ธรณี อ่าน ทะ-ระ-นี มรณา อ่าน มอ-ระ-นา บวร อ่าน บอ-วอน ,วรกาย อ่าน วอ-ระ-กาย มรดก อ่าน มอ-ระ-ดก
            2.4 คำบางคำอ่านได้ 2 แบบคืออ่านเรียงพยางค์กับไม่เรียงพยางค์ เช่น กรณี คมนาคม ปรปักษ์ เทศนา
            2.5 คำที่ ย ล ร ว เป็นตัวสะกดหรือเป็นตัวตาม ต้องออกเสียงตัวสะกดด้วย เช่น กัลบก อ่าน กัน-ละ-บก อัยการ อ่าน ไอ-ยะ-กาน วัชรา อ่าน วัด-ชะ-รา วิทยา อ่าน วิด-ทะ-ยา จัตวา อ่าน จัด-ตะ-วา
            2.6 คำบางคำอ่านแบบอักษรนำหรืออักษรควบ เช่น อาขยาน อ่าน อา-ขะ-หยาน ,
        3. การอ่านอักษรนำ มีวิธีการดังนี้
            3.1 พยัญชนะตัวที่นำ เป็นอักษรกลางหรืออักษรสูงและตัวที่ถูกนำมาเป็นอักษรต่ำเดี่ยวให้อ่านตามเสียงวรรณยุกต์ของตัวนำหรือมีเสียงวรรณยุกต์ของตัวนำ หรือมีเสียง ห ที่พยางค์หลัง เช่น กนก อ่าน กะ-หนก ขยาย อ่าน ขะ-หยาย
            3.2 ห นำ อักษรต่ำเดี่ยวให้อ่านเสียงตัว ห กลมกลืนกัอักษรต่ำเดี่ยวและอ่านออกเสียงพยางค์เดียว เช่น หมู หมา หนู หรูหรา ไหล ใหล ไหน หมอ เหงา หงอย
            3.3 นำอักษรต่ำเดี่ยว ย ให้อ่านกลมกลืนเสียง ย และออกเสียงพยางค์เดียวได้แก่ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
มีคำบางคำไม่อ่านตามกฎเกณฑ์ จะอ่านตามความนิยม เช่น สมาคม ขมา ไผท ผจง ขจร
        4. การอ่านอักษรควบกล้ำ
            4.1 การอ่านอักษรควบแท้ โดยการอ่านออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำกับพยัญชนะ ร ล ว พร้อมกัน เช่น กลอง ครอบ พราย ตรวจ เปลี่ยน ผลาญ ไขว่ ครัว
            4.2 การอ่านอักษรควบกล้าไม่แท้ โดยอ่านออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำตัวหน้าเพียงเสียงเดียว คือ ทร สร ศร ออกเสียงเป็น ซ เช่น ทราย เทริด ไทร ทรุด ทราม ทราบ ทรวง พุททรา อินทรี ทรวดทรง สร้อย เสริม สร้าง แสร้ง เศร้า ศรี จริง
        5. การอ่านคำแผลง มีวิธีการอ่านดังนี้
            5.1 คำเดิมที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียว เมื่อแผลงเป็น 2 พยางค์ ให้ออกเสียงตามคำที่แผลงใหม่ เช่น แจก แผลงเป็น จำแนก อ่าน จำ-แนก ,อวย แผลงเป็น อำนวย อ่าน อำ-นวย , อาจ แผลงเป็น อำนาจ อ่าน อำ-นาด ,
            5.2 คำเดิมที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรควบเมื่อแผลงเป็น 2 พยางค์ ให้อ่านออกเสียงพยางค์ท้าย(เสียงวรรณยุกต์) ให้เหมือนคำเดิม เช่น กราบ แผลงเป็น กำราบ อ่าน กำ-หราบ ,ตรวจ แผลงเป็น ตำรวจ อ่าน ตำ-หรวด , ตริ แผลงเป็น ดำริ อ่าน ดำ-หริ ปราบ แผลงเป็น บำราบ อ่าน บำ-หราบ ปราศ แผลงเป็น บำราศ อ่าน บำ-ราด(ยกเว้น)
            5.3 คำเดิมเป็นอักษรกลาง แผลงเป็นอักษรสูงออกเสียงเป็นอักษรนำ เช่น บัง แผลงเป็น ผนัง อ่าน ผะ-หนัง บวช แผลเป็น ผนวช อ่าน ผะ-หนวด ,บวก แผลงเป็น ผนวก อ่าน ผะ-หนวก
        6. การอ่านคำพ้อง
            6.1 คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกันแต่อ่านออกเสียงต่างกัน เช่น พลี (พะ-ลี,พลี) สระ(สะ-สะ-หร) กรี(กะ-รี,กรี)ปรัก(ปะ-หรัก,ปรัก) ปรามาส(ปะ-รา-มาด,ปรา-มาด)
            6.2 คำพ้องเสียง คือ คำที่เขียนต่างกันแต่อ่านออกเสียงเหมือนกัน เช่น การ กานต์ กานท์ การณ์ กาน กาล
            6.2 จันทร์ จันทน์ จัน จัณฑ์
        7. การอ่านพยัญชนะ ฑ มีวิธีการดังนี้
            7.1 ออกเสียง ต เช่น มณฑป อ่าน มน-ดบ ,บัณเฑาะก์ อ่าน บัน-เดาะ , บัณฑุ อ่าน บัน-ดุ , ปานฑพ อ่าน ปาน-ดบ , บุณฑริก อ่าน บุน-ดะ-ริก ,บัณฑิต อ่าน บัน-ดิด
            7.2 อ่านออกเสียง ท เช่น มณฑก อ่าน มน-ทก , มณฑล อ่าน มน-ทน , ขัณฑสีมา อ่าน ขัน-ทะสี-มา , ขันฑสกร อ่าน ขัน-ทด-สะ-กอน มณโฑ อ่าน มน-โท ,บัณฑิก อ่าน บัน-ทิก
        8. การอ่านพยัญชนะ ฤ ตัว ฤ เป็นสระในภาษาสันสกฤษ เดิมอ่าน ริ อย่างเดียว แต่เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยสามารถอ่านได้ 3 เสียง คือ ริ รึ เรอ มีวิธีการอ่านดังนี้
            8.1 การออกเสียง (ริ)
                8.1.1 เมื่อ ฤ ตามหลังพยัญชนะ ก ต ท ป ศ ส เช่น กฤตยา กฤษฎีกา ตฤนมัย ทฤษฎี ปฤจฉา ปฤษฎางค์ ศฤงคาร สฤษฏ์ กฤษณา ตฤป
                8.1.2 เมื่อเป็นพยางค์หน้าของคำและมีตัวสะกด เช่น ฤทธิ์ ฤณ(หนี้) ฤทธา ฤษยา
            8.2 การอ่านออกเสียง (รึ)
                8.2.1 เมื่อเป็นพยางค์หน้าของคำ ละมีตัวสะกด เช่น ฤดู ฤทัย ฤษภ(วัยตัวผู้) ฤษี ฤชา ฤดี ฤช ฆคเวท ฤกษณะ(การมองเห็น)
                8.2.2 เมื่อ ฤ ตามหลังพยัญชนะ ค น ม พ ห เช่น คฤหบดี คฤหาสน์ นฤบดี พฤศจิกายน หฤทัย นฤมล มฤตยู มฤค หฤโหด พฤนท์ มฤตก พฤกษ์
                8.2.3 เมื่ออยู่โดดๆ เช่น ฤ
            8.3 การอ่านออกเสียง (เรอ) ได้แก่ คำว่า ฤกษ์(เริก)
        ข้อควรสังเกต ยกเว้นบางคำที่อ่านอกเสียงได้ทั้ง ริ และ รึ เช่น พฤนท์ อมฤต
        9. การอ่านตัวเลข มีหลักเกณฑ์ดังนี้
            9.1 จำนวนเลขตั้งแต่ 2 หลักขึ้นไป ถ้าตัวเลขตัวท้ายเป็นเลข 1 ให้ออกเสียงเอ็ด
            9.2 ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม
                9.2.1 ตัวหน้าจุดทศนิยม ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ตัวเลขหลังจุดทศนิยม ให้อ่านเรียงตัว
                9.2.2 ตัวเลขที่เป็นเงินตราหรือหน่วยนับ ให้อ่านตามหน่วยเงิน หรือหน่วยนับนั้นๆ
            9.3 การอ่านตัวเลขบอกเวลา
                9.3.1 การอ่านชั่วโมงที่ไม่มีจำนวนนาที เช่น 05.00 อ่านว่า ห้า-นา-ลิ-กา
                9.3.2 การอ่านจำนวนชั่วโมง นาทีและวินาที อ่านจากหน่วยใหญ่ไปหน่วยย่อย
            9.4 การอ่านเวลาที่มีเศษของวินาที เช่น 2 : 03 : 47.80 อ่านว่า สอง-นา-ลิ-กา-สาม-นา-ที-สี่-สิบ-เจ็ด-จุด-แปด-สูน-วิ-นา-ที
            9.5 การอ่านตัวเลขที่แสดงมาตราส่วนหรืออัตราส่วน เช่น 1 : 200,000 อ่านว่า หนึ่ง-ต่อ-สอง-แสน
            9.6 การอ่านตัวเลขหนังสือราชการ นิยมอ่านแบบเรียงตัว เข่น หนังสือที่ ศธ 0030.01/605 ลว. 15 มกราคม 2553 อ่านว่า หนังสือที่สอทอสูนสูนสามสูนจุดสูนหนึ่งทับหกสูนหนึ่ง ลงวันที่สิบห้ามะกะราคม พุดทะสักกะหราดสองพันห้าร้อยห้าสิบสาม
            9.7 การอ่านเลข ร.ศ. ที่มีการเทียบเป็น พ.ศ. กำกับ เช่น ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) อ่านว่า รัดตะนะโกสินสกร้อยสิบสอง ตรงกับพุดทะสักกะหราดสองพันสี่ร้อยสามสิบหก
            9.8 การอ่านบ้านเลขที่
                9.8.1 การอ่านบ้านเลขที่ซึ่งตัวเลข 2 หลักให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ส่วนตัวเลขหลังเครื่องหมายทับ(/) ให้อ่านแบบเรียงตัว เช่น บ้านเลขที่ 97/258 อ่านว่า บ้านเลขที่เก้าสิบเจ็ดทับสองห้าแปด
                9.8.2 การอ่านบ้านเลขที่ซึ่งมีตัวเลข 3 หลักขึ้นไป ให้อ่านแบบจำนวนเต็มหรือแบบเรียงตัวก็ได้ ส่วนตัวเลขหลังเครื่องหมายทับ (/) ให้อ่านแบบเรียงตัว
                9.8.3 การอ่านบ้านเลขที่กลุ่มตัวเลขที่มี 0 อยู่ข้างหน้า ให้อ่านเรียงตัวเสมอ
            9.9 การอ่านรหัสไปรษณีย์ ให้อ่านแบบเรียงตัว
            9.10 การอ่านหมายเลขทางหลวง ให้อ่านตัวเลขแบบเรียงตัว
        10. การอ่านเครื่องหมายต่างๆ มีหลักการอ่านดังนี้
            10.1 การอ่านคำหรือข้อความที่มีเครื่องหมายวงเล็บกำกับอยู่ ให้อ่านว่า วงเล็บเปิด...วงเล็บปิด
            10.2 การอ่านเครื่องหมายอัญประกาศ( “...” ) ให้อ่าน อัญประกาศเปิด....อัญประกาศปิด
            10.3 การอ่านเครื่องหมายไม้ยมก เช่น ให้อ่านซ้ำคำหรือข้อความ
            10.4 การอ่านเครื่องหมายไปยาลน้อยหรือเปยยาลน้อย เวลาอ่านต้องอ่านเต็มคำ
            10.5 การอ่านเครื่องหมายไปยาลใหญ่ หรือเปยยาลใหญ่ หากอยู่ท้ายข้อความให้อ่านว่าละ หรือ และอื่นๆ และเมื่ออยู่กลางข้อความให้อ่านว่า ละถึง
            10.6 การอ่านเครื่องหมายไข่ปลาหรือจุดไข่ปลา ก่อนอ่านควรหยุดเล็กน้อย แล้วจึงอ่านว่า ละ ละ ละ แล้วจึงอ่านข้อความต่อไป ตัวอย่างแบบทดสอบ
วันภาษาไทยแห่งชาติ 2557
วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี
ประเทศไทยได้กำหนดให้เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ"
  
 
วันภาษาไทยแห่งชาติ 2556 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ  

   ธงชาติ และ ภาษา คือสิ่งที่บ่งบอกความเป็นไทย
      
      
วันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี คือ วันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในด้านภาษาไทย และเพื่อกระตุ้น ให้ชาวไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย และร่วมใจกันใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเพื่ออนุรักษ์ภาษาไทยให้เป็นเอกลักษณ์อยู่คู่ชาติไทยต่อไป

วันภาษาไทยแห่งชาติ 2557

ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ

       สืบเนื่องจากเมื่อ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ ปัญหาการใช้คำไทย ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่าณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง   
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า...
        “...เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก…” 
ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง 
คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้
หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค 
นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย
ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ 
… สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี

 ภาษาไทย
วันภาษาไทยแห่งชาติ 2556

       รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันดังกล่าวเป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา 
  
 
        ภาษาไทยเป็นภาษาที่ เก่าเเก่ที่สุดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรากฐานมาจากออสโตรไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีน มีหลายคำที่ขอยืมมาจากภาษาจีน

       พ่อขุนรามคำเเหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พศ 1826 (คศ1283) มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดเเปลงมาจากบาลี เเละ สันสกฤต

       คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง เเละมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเเสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาเเต่โบราณกาล เเละยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปีเเล้ว เเละจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย

ความสำคัญของภาษาไทย

        ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันเเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น เเต่ละภาษามีระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ความเป็นชาติโดยเเท้จริง" ว่า ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์เเน่นเเฟ้นกว่าสิ่งอื่น เเละไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือเเน่นอนยิ่งไปกว่าภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้น รัฐบาลใดที่ต้องปกครองคนต่างชาติต่างภาษา จึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนเเละออกบัญญัติบังคับ ให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง เเต่ความคิดเห็นเช่นนี้ จะสำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้ เเต่ถ้ายังจัดการเเปลง ภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็เเปลว่า ผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น เเละยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้ อยู่ตราบนั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์เเน่นเเฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น"
        ดังนั้นภาษาก็เปรียบได้กับรั้วของชาติ ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนไว้ได้ดี ให้บริสุทธิ์ ก็จะได้ชื่อว่า รักษาความเป็นชาติ
 
        คนไทยทุกคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อความรู้สึกนึกคิดเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ควรจะรักษาระเบียบความงดงามของภาษา ซึ่งเเสดงวัฒนธรรม เเละ เอกลักษณ์ประจำชาติไว้อีกด้วย ดังพระราชดำรัส สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งว่า
 
        "ภาษานอกจากจะเป็นเครื่องสื่อสารเเสดงความ รู้สึกนึกคิดของคนทั่วโลก เเล้ว ยังเป็นเครื่องเเสดงให้เห็นวัฒนธรรม อารยธรรม เเละเอกลักษณ์ ประจำชาติอีกด้วย ไทยเป็นประเทศซึ่งมีขนบประเพณี ศิลปกรรมเเละภาษา ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล เราผู้เป็นอนุชนจึงควรภูมิใจ ช่วยกัน ผดุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้ อุตส่าห์สร้่างสรรค์ขึ้นไว้ให้เจริญสืบไป "

วันภาษาไทยแห่งชาติ 2557

วัตถุประสงค์ของวันภาษาไทยแห่งชาติ มีดังนี้

        1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย 
        2. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542
       3. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
       4. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิผลยิ่งขึ้น
        5. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

ซึ่งพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น มีใจความว่า....

     “...ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้

พระราชนิพนธ์  
พระราชนิพนธ์เรื่อง ติโต นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และพระมหาชนก
     ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ...” นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยะภาพในการใช้ภาษาไทย ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่ สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า เป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น

วันภาษาไทยแห่งชาติ 2557

กลอนภาษาไทย

คุณค่าภาษาไทย

เป็นคนไทยต้องรักภาษาไทย
รักษาไว้ให้อยู่ได้เนานานหนอ
อย่าทำร้ายลายลักษณ์ที่ถักทอ
ที่แม่พ่ออนุรักษ์ตระหนักคุณ

ภาษาไทยนั้นเป็นภาษาชาติ
อย่าประมาทใช้ผิดให้เคืองขุ่น
ครูท่านสอนสั่งไว้เลยนะคุณ
ความว้าวุ่นแห่งภาษาจะมากมี

ถ้าเมื่อใดไร้ภาษาที่มีอยู่
คงอดสูอายเขาไปทุกที่
และอาจสิ้นชาติไทยไปด้วยซี
เพราะวิถีชีวีที่เปลี่ยนไป

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีค่า
มากยิ่งกว่านพรัตน์เป็นไหน ไหน
มวลหมู่แก้วถึงมีค่ากว่าสิ่งใด
คงมีได้แค่เพียงค่าราคาเงิน

แต่คุณค่าของภาษามีสูงส่ง
ช่วยดำรงความเป็นชาติไม่ขัดเขิน
เพราะภาษาแสดงลักษณ์จำหลักเกิน
กว่าค่าเงินตรา...แต่สง่าอยู่ที่ใจ

เป็นคนไทยต้องรักภาษาไทย
รักษาให้อยู่นานนานจะได้ไหม
อย่าทำลายภาพลักษณ์ความเป็นไทย
โดยที่ไม่รู้ค่าภาษาเอย ฯ
แต่งโดย :  อรุโณทัย  ประพันธ์ 

      กลอนภาษาไทย

ภาษาไทยสวยงาม

ภาษาไทยงดงามด้วยน้ำเสียง
ถ้อยเรียบเรียงหวานหูไม่รู้หาย
สื่อความคิดสื่อความรู้สื่อแทนกาย
สื่อความหมายด้วยภาษาน่าชื่นชม

เกิดเป็นไทยภาษาไทยเขียนให้คล่อง
กฎเกณฑ์ต้องรู้ใช้ให้เหมาะสม
จะพูดจาน่าฟังทั้งนิยม
เจ้าคารมเขาจะหมิ่นจนสิ้นอาย

ภาษาพูดสนทนาพูดจาทัก
เป็นสื่อรักสื่อสัมพันธ์ความมั่นหมาย
แม้นพูดดีมีคนรักมักสบาย
แต่พูดร้ายส่อเสียดคนเกลียดกัน

วัฒนธรรมล้ำค่าภาษาสวย
ทุกคนช่วยออกเสียง “ร” ขอสร้างสรรค์
แม้นออกเสียง เป็น “ล” เขาล้อกัน
คนจะหยันชาติเราไม่เข้าที

สระ “เอือ เป็น “เอีย” ฟังเพลียนัก
บอกที่รัก ช่วยซื้อ “เกีย”..ที่ร้านนี่
ขอ “ซมเซย” จะเชยแท้ แม้พาที
วอนน้องพี่ต้องช่วยกันจรรโลงไทย

ผมได้เลิกแต่งงานในวันนี้
เป็นเลิกดีเลิกงามยามสดใส
ออกเสียงฤกษ์ เป็นเลิก ครั้งคราใด
คงทำให้สื่อสารผิด..คิดเสียดาย

ภาษาไทยงดงามด้วยความคิด
แม้นอ่านผิดก็เขียนผิด..คงเสียหาย
เขียนอ่านไทยให้ถูกด้วยช่วยผ่อนคลาย
สื่อทั้งหลาย..ต้องช่วยกัน..นั้นอีกแรง..

โดย : ครูพิม  ประพันธ์

ใช้ภาษาให้ถูกต้องกันนะครับ
 "คนรุ่นใหม่ ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง"