วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะภาษาไทย

1. คำไทยแท้มักมีคำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ นั่ง เดิน สวย งาม ใน เสือ คลอง ฯลฯ
2. ตัวสะกดมักเป็นตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด เช่น สิน เกรง นาม ศอก ศึก ลม ขีด ฝน ต้น ศอก เย็น
3. คำคำเดียวอาจมีความหมายหลายอย่างขึ้นอยู่กับบริบท เช่น ไก่ขัน ขันน้ำ คุณพ่อขันเชือก
4. คำไทยไม่มีคำแสดงเพศและพจน์ภายในคำ ถ้าต้องการแสดงเพศและพจน์ก็นำคำมารวมกัน เช่น ช้างตัวผู้ ประชาชนทั้งหลาย ผู้หญิง
5. คำไทยมีลักษณนาม เช่น ช้าง เชือก แหวน วง
6. คำไทยมีคำราชาศัพท์ เช่น เสวย ตรัส พระราชทาน
7. คำไทยเป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ เมื่อเสียวรรณยุกต์เปลี่ยนไปจะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปด้วย
8. คำไทยจะมีคำหลักอยู่ข้างหน้า คำขยายอยู่ข้างหลัง เช่น หมูอ้วน โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม
9. คำไทย จะมีลักษณะทางไวยากรณ์ คือ ประธาน+ขยายประธาน+กริยา+กรรม+ขยายกรรม+ขยายกริยา
10. คำไทยมีวิธีการสร้างคำใหม่โดยการนำคำมาประสมกัน เช่น คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน
11. คำไทยมีลักษณะวิธีการสร้างคำไทยแท้ ลักษณะ คือ
11.1 การกร่อนเสียง คือ เสียงพยางค์ต้นหายไปเหลือเพียงบางส่วนโดยพยางค์ต้นเหลือเป็นสระ อะ เช่น หมากขาม เป็น มะขาม ต้นไคร้ เป็น ตะไคร้ ตัวขาบ เป็น ตะขาบ
11.2 การแทรกเสียง คือ การเติมเสียงเข้ากลางคำแล้วเสียงเกิดคอนกันจึงเติมข้างหน้าอีกเพื่อให้ถ่วงดุลกัน เช่น ลูกดุม เป็น ลูกกระดุม ดุกดิก เป็น กระดุกกระดิก
11.3 การเติมพยางค์ คือ การเติมเสียงเข้าหน้าคำและหลังคำของคำหน้าเพื่อให้เกิดดุลเสียงกัน เช่น มิดเมี้ยน เป็น กระมิดกระเมี้ยน แอมไอ เป็น กระแอมกระไอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น