วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

หลักการเขียนคำในภาษาไทย
            การเขียนสะกดคำในภาษาไทยให้ถูกต้อง จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเขียนคำนั้นๆและต้องหมั่นฝึกฝนเขียนอยู่สม่ำเสมอ ทั้งนี้ต้องยึดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเป็นหลักเกณฑ์ในการอ่านและเขียนคำ
        1. คำที่ประวิสรรชนีย์ มีวิธีการดังนี้
            1.1 คำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤตและเป็นคำที่มีหลายพยางค์เรียงกัน พยางค์หลังสุดให้ประวิสรรชนีย์ เช่น สรณะ อมตะ อิสระ ศิลปะ ฯลฯ
            1.2 คำกร่อนเสียง ต้องประวิสรรชนีย์ เช่น สาวใภ้ เป็น สะใภ้ สายดือ เป็น สะดือ
            1.3 คำที่ม่จากภาษาชวาและอ่านออกเสียงสระอะ ต้องประวิสรรชนีย์ เช่น มะเดหวี ระเด่น ระตู อะนะ ตะหมัง สะตะหมัน มะตาหะรี
            1.4 คำที่ขึ้นต้นด้วนสะ แผลงเป็น ตะ และกระ แม้ภาษาเดิมจะไม่ประวิสรรชนีย์เมื่อแผลงมาต้องประวิสรรชนีย์ เช่น สะพัง เป็น ตะพัง สะพาน เป็น ตะพาน สะเทือน เป็น กระเทือน
            1.5 เมื่อแผลงบางคำประวิสรรชนีย์ เพราะมีเสียงตัว ร กล้ำในพยางค์หน้าซึ่งอ่านออกเสียงสระอะ เช่น กลับ เป็น กระลับ ขจาย เป็น กระจาย กลอก เป็น กระลอก ผจญ เป็น ประจญ
            ตัวอย่างคำประวิสรรชนีย์
                ขะมักเขม้น ขะมุกขะมอม คะนึง คะนอง คะเน คะยั้นคะยอ ชะงัก ชะโงก ตัวชะมด ชะลอ ชะล่า ชะลูด ตะลุ ตะขิดตะขวง ทะลาย(หมาก) ทะนง ทะมัดทะแมง ทะลึ่ง ทะเยอทะยาน ทะนุบำรุง ทะลัก พะวง พะวง พะยูง พะเนิน พะแนง พะว้าพะวง พะอืดพะอม รำส่ำระสาย ละคร ละเมียดละไม ละโมบ ละเอียด สะกด สะดุ้ง สะคราญ สะพรั่ง สะเพร่า สะระแหน่ สะโอดสะอง สะดวก สะพาน อะลุ้มอล่วย อะไหล่ เถระ สรณะ วัฒนะ วชิระ อัจฉริยะ ฉันทะ วีระ
        2. คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ มีวิธีการดังนี้
            2.1 มีคำไทยแท้พยางค์เดียว คือ ธ (ท่าน) ณ (ใน)
            2.2 คำที่เป็นอักษรนำ เช่น สมาน ขยาย แถลง ตลาด ฉลาด ถวาย จมูก ตลก ฉลวย
            2.3 คำสมาส เช่น จิตแพทย์ มาฆบูชา อิสรภาพ ลักษณนาม ภารกิจ ยุทธวิธี อาชีวศึกษา ทักษสัมพันธ์ วัฒนธรรม สุขศึกษา
ตัวอย่างคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
ขโมย ขมุกขมัว ขยักขย่อน จริต ฉบับ เฉพาะ ชมดชม้อย ชม้าย ชโลม ชอุ่ม ตลิ่ง ตวัด ทโมน ทยอย ทแยง เนรนาด พังทลาย พนัน พยัก ปรัมปรา ผอบ รโหฐาน อำมหิต อุตพิต อัพาต อินทผลัม อเนก อเนจอนาถ พลัง ชบา นานัปการ ศิลปศึกษา โบราณวัตถุ หัตถกรรม พลศึกษา
        3. การใช้ รร (ร หัน)
            3.1 เป็นคำที่แผลงาจากคำซึ่งมีตัว ร กล้ำกับพยัญชนะอื่น และหลัง ร มีสระอะ เช่น คระไล เป็น ครรไล ประจง เป็น บรรจง กระเชียง เป็น กรรเชียง กระโชก เป็น กรรโชก ประโลม เป็น บรรโลม
            3.2 คำที่มาจาก ร เรผะ(รฺ) ในภาษสันสกฤต ให้เปลี่ยนเป็น รร เช่น ธรฺม เป็น ธรรม ครฺภ เป็น ครรภ หรฺษ เป็น หรรษ สรฺว เป็น สรรพ สวรฺค เป็น สวรรค์
        ตัวอย่างคำที่ใช รร หัน
            ภรรยา มรรค ขรรค์ พรรค สรรพ อุปสรรค สร้างสรรค์ ธรรมดา ผิวพรรณ วรรณะ อรรณพ สรรพนาม มรรยาท ธรรมชาติ ไอศวรรย์ สรรเสริญ กรรไกร กรรโชก กรรชิง จรรโลง บรรทม บรรสาน บรรดา บรรทุก บรรเทา บรรเจิด บรรจบ กรรพุ่ม ครรชิต ครรไล บรรยาย บรรษัท บรรจง พรรดึก พรรษา อาถรรพเวท
        4. การใช้ ณ มีวิธีการดังนี้
            4.1 คำบาลีสันสกฤต ที่มีตัวสะกดใน แม่ กน ถ้าตัวตามเป็นพยัญชนะวรรค ฏ (ฏ ฐ ฑ ฒ ณ) หรือ ห ตัวสะกดต้องใช้ ณ เช่น อุณหภูมิ ตัณหา กุณฑล สัณฐาน กัณหา
            4.2 คำบาลีสันสกฤต เมื่อ ข ฤ ร ษ อยู่หน้าตัว “นอ” ให้ใช้ ณ เสมอ เช่น ขณะ ลักษณะ โฆษณา ประณีต กรุณา โบราณ บูรณะ ตฤณ
            4.3 คำไทยที่ใช้ ณ แต่โบราณ เช่น ณ ฯพณฯ เณร
ตัวอย่าง กรณี เกษียณอายุ ปฏิภาณ ประณต พาณิช(พ่อค้า) อุณาโลม อัประมาณ อาจิณ ทักษิณ ปริณายก พาราณสี อารมณ์ ม้วยมรณ์ วิจารณ์ อุทธรณ์ ปฏิสังขรณ์ อุทาหรณ์ นารายณ์
        5. การใช้ น มีวิธีการดังนี้
            5.1 ใช้ในคำไทยทั่วไป เช่น ใน นอน นิ่ง แน่น หนู ฯลฯ
            5.2 คำบาลีสันสกฤต ที่มีตัวสะกดอยู่ในมาตราแม่ กน มีตัวสะกดตัวตามที่เป็นพยัญชนะวรรค ตะ (ต ถ ท ธ น) เช่น มัทนะ วันทนา ขันที นินทา สันถาร ชนนี ฯลฯ
            5.3 ใช้ในคำบาลีสันสกฤตทั่วไปทีไม่อยู่ในหลักการใช้ ณ เช่น ชน สถาน นารี กริน นคร ฯลฯ
            5.4 ใช้ในคำที่มาจากภาษาอื่น เช่น ญี่ปุ่น ไนโตรเจน ละติน จีน ปิ่นโต นโปเลียน ฯลฯ
            ตัวอย่าง กังวาน กันแสง กำนัน กันดาร ของกำนัล ชุลมุน ชันสูตร ฌาน ตระเวร ตานขโมย ทโมน เนรนาด ประนีประนอม เมตตาปรานี ปฏิสันถาร พรรณนา พุดตาน มลทิน รโหฐาน รัญจวน เวนคืน สินบน สันโดษ สันนิฐาน อเนจอนาถ สงกรานต์ อวสาน อุปโลกน์
        6. การใช้ ซ – ทร มีวิธีการดังนี้
            6.1 การใช้ ซ ออกเสียง ซอ มีดังนี้ คำไทยแท้ออกเสียง ซอ มักใช้ ซ เสมอ เช่น ซบ ซึม ซับ ซ่าน ซาก ซึมซาบ ไซ โซก ซาบซ่า แซม ซอกแซก แซง ,คำที่มาจากภาษาจีน เช่น ซินแส แซยิด แซ่ เซียมซี ไซโคลน
            6.2 การใช้ ทร ออกเสียง ซ มีหลักดังนี้ คำที่มาจากภาษาเขมร เช่น ไทร แทรก ฉะเชิงเทรา เทริด ทรวง ,คำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น ทรัพย์ มัทรี อินทีรย์ นนทรี อินทรี
        7. การใช้ตัวการันต์(ไม้ทัณฑฆาต) มีวิธีการดังนี้
            7.1 คำทีมีพยัญชนะต่อท้ายตัวสะกดถ้าไม้องการออกเสียงให้ใส่ไม้ทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้ายของคำ
            7.2 คำที่มาจากภาษาต่างประเทศให้เขียนตัวการันต์เพื่อออกเสียงตัสะกดได้ถูกต้องและรักษารูปศัพท์เดิม เช่น ชอล์ก ฟิล์ม การ์ตูน บิลล์ ฟาร์ม
ตัวอย่างคำที่มีตัวการันต์
กาญจน์ ต้นโพธิ์ สรรพ์ เลห์ ทุกข์ สงฆ์ องค์ องก์ ขรรค์ หัตถ์ บริสุทธิ์ ประสิทธิ์ อาถรรพณ์ อุโมงค์ ธุดงค์ รามเกียรติ์ คำวิเศษณ์ โจทย์เลข โจทก์จำเลย จุลทรรศน์ เดียดฉันท์ นัยน์ตา ยานัตถุ์ ลูกบาศก์ ปาฏิหาริย์ ผลานิสงส์ พืชพันธุ์ พิสูจน์ สายสิญจน์ มัคคุเทศก์ ศึกษานิเทศก์ รังสฤษฏ์ วงศ์วาน ปาติโมกข์ หงส์ อุปโลกน์ อัศจรรย์ อานิสงส์ พรหมจรรย์ สังหรณ์ อุปัชฌาย์ อัฒจันทร์ อุทาหรณ์ อุทธรณ์ นักปราชญ์ สกนธ์ ผู้เยาว์ เปอร์เซ็นต์ เดลินิวส์ โปสเตอร์ รถเมล์ จุกคอร์ก ฟิวส์ ฟิสิกส์ ฟิวส์ ตอร์ปิโด ซีเมนต์ ไนต์คลับ เชียร์ ซิการ์ สวิตซ์
ตัวอย่างคำที่ไม่มีตัวการันต์
เซ็นชื่อ จำนง สำอาง ดำรง กระแส วิเศษ ไข่มุก จักพรรดิ จักวรรดิ โล่ สิงโต ปล้นสะดม หนังสืออุเทศ ดำริ พะอง นิตยา นัยนา สถิต บ่วงบาศ ผูกพัน มืดมน ปฐมนิเทศ ย่อมเยา อาจิณ เกม เฟิน ฉันมิตร เกียรติ
        8. การเขียนคำที่อกเสียง อำ
            8.1 การใช้สระ อำ มีวิธีการดังนี้
                8.1.1 ใช้ในคำไทยทั่วไป เช่น ทองคำ ลูกประคำ ลำอ้อย รำมะนา ฯลฯ
                8.1.2 ใช้ในคำแผลงที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาเขมร เช่น ตริ เป็น ดำริ ตรวจ เป็น ตำรวจ แข็ง เป็น กำแหง รวิ เป็น รำไพ อมฤต เป็น อำมฤต
                8.1.3 ใช้ในคำภาษาอื่นๆที่นำมาเขียนตามอักขรวิธีไทย เช่น กำปั่น กำมะลอ กำยาน สำปั่น กำมะหยี่ ตำมะหงง
ตัวอย่างคำที่ออกเสียง อำ
อำเภอ ฮุนหนำ กำปง กำปั้น กำแหง อำนาจ กำพืด ดำรง กำยำ ตำนาน จำนำ รำพัน กำบัง อำพน สำมะโนครัว สำเนา คำรน สำราญ นำเรอ ไพ กำมลาสน์ ชำนิ กำหมัด กำเหน็จ บำบัด ชำนาญ จำนง
8.2 การใช้สระ อัม มีวิธีการใช้ดังนี้
    8.2.1 คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตที่ออกเสียง อะ และมี ม สะกด เช่น อัมพร สัมผัส อุปถัมภ์ สัมพันธ์ กัมพล คัมภีร์ สัมภาษณ์ อัมพิกา
    8.2.2 คำที่มาตากภาษาอื่นนอกจากบาลีและสันสกฤต เช่น ปั้ม อัลบั้ม กิโลกรัม สกรัม สเปกตรัม กัมมันตภาพ
ตัวอย่างคำที่ออกเสียง อัม
สัมฤทธิ์ บุษราคัม กัมพูชา อินทผลัม สัมมนา สัมภาษณ์ สัมประสิทธิ์ ปกรณัม สัมปรายภพ สัมพัทธ์ สัมปทาน สัมปชัญญะ สัมมาชีพ นัมเบอร์ คอลัมน์ บุษราคัม กัมปนาท อัมพา อัมพาต สัมพันธ์ สัมภเวสี สัมภาระ
8.3 การใชสระ อำม ใช้กับคำในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มาจากคำ “อม” เช่น อำมาตย์ มาจาก อมาตย์ อำมรินทร์ จาก อมรินทร์ อำมร มาจาก อมร อำมฤต มาจาก อมฤต
8.4 การใช้สระ _รรม ใช้กับคำที่มาจาก รฺ (ร เรผะ) ในภาษาสันสกฤตและ ตาม เช่น ธรรม มาจาก ธรฺม กรรม มาจาก กรฺม

        9. การเขียนคำพ้องเสียง
การเขียนคำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่การเขียนต่างกันและควาหมายต่างกันแยกได้ 3 ชนิด คือ
            9.1 คำที่ใช้รูปวรรณยุกต์ต่างกันโดยการใช้อักษรที่มีเสียงคู่กัน คือ อักษรสูงกับอักษรต่ำ เช่น ค่า กับ ข้า เท่า กับ เถ้า ย่า กับ หญ้า
            9.2 คำที่ใช้ ใ ไ อัย ไนย เช่น ใน ใจ ไจไหม หมาใน ความหมาย ภูวไนย
            9.3 คำทีเขียนต่างกัน เช่น เลือกสรร สังสรรค์ พร้อมสรรพ สุขสันต์
                 ตัวอย่างคำพ้องเสียง เกร็ดความรู้ กาลเวลา เกรียงไกร เกล็ดปลา การงาน ห่างไกล ไตรมาส กาพย์กานท์ จัณฑาล เมรุมาศ ดวงจันทร์ ตัวอย่างแบบทดสอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น